8 เทคนิคจัดอีเว้นท์ให้ปัง การจัดกิจกรรมทางการตลาด หรือการจัดอีเว้นท์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า และถือเป็นสื่อกลางในการสร้างความสนใจ โอกาสในการเห็น และการผูกความสัมพันธ์ระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมทางการตลาดนั้น มีจุดเด่น ที่ช่วยสนับสนุนให้แผนหรือกลยุทธ์การตลาดของคุณมีโอกาสบรรลุเป้าหมายมากขึ้น ถ้าวางแผนจัดงานได้อย่างเหมาะสม การจัดงานก็จะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าวางแผนไม่ดี หรือจัดงานออกมาไม่เหมาะสมกับสินค้า อาจทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนั้นไม่ได้รับผลดีอะไรกลับมาเลยทั้งที่เสียงบประมาณไปอย่างมากมายเเละต้องยอมรับว่า ในประเทศไทย มีอีเว้นท์เกิดขึ้นมากมาย อีเว้นท์ดั่งเดิมที่มีมาแต่เก่าก่อนก็ได้บารมีไป หรือเรียกได้ว่า งานไหนที่ดังแล้วก็สบาย แต่ก็ยังคงต้องเคาะและปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก แล้วสำหรับอีเว้นท์หน้าใหม่ล่ะ ต้องทำอย่างไร? ที่จะตอบโจทย์ทุกๆ วันนี้ผู้ซึ่งได้ออกงานอีเว้นท์ และช่วยดูแลเรื่องการลงทะเบียน ประชาสัมพันธ์มานมนาน จึงมาชี้แจงแถลงไข กับเคล็ดไม่ลับที่ทำให้ อีเว้นท์ ปังและอยากบอกออกไปดังๆ ให้ถึงผู้จัดงานกันไปเลย
เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการหรือองค์กรใดที่กำลังวางแผนการจัดกิจกรรมทางการตลาด ควรวางแผนการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ซึ่งวันนี้เรานำ เทคนิคการจัดอีเว้นท์ให้ปัง! มาฝากผู้ประกอบการหรือใครที่กำลังวางแผนที่จะจัดงานอยู่ ตามไปดูกันได้เลยค่ะ
8 เทคนิคจัดอีเว้นท์ให้ปัง!! ที่ผู้ประกอบการควรต้องรู้!!
1. ตั้งเป้าหมายจัดอีเว้นท์เพื่ออะไร
การเริ่มต้นจัดกิจกรรมทางการตลาด แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้คือ เราทำเพื่ออะไร เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่า เป้าหมายในการจัดงานครั้งนี้ของเรา เราจะจัดงานเพื่ออะไร อย่างเช่น จัดงานเพื่อเปิดตัวธุรกิจ เปิดตัวสินค้าหรือบริการของบริษัท จัดแสดงสินค้า กระตุ้นยอดขายโดยการขายสินค้า เป็นต้น โดยเนื้อหาภายในงาน ถ้าจัดอีเว้นท์เปิดตัวธุรกิจ อาจต้องการที่จะสื่อสารถึงข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น สินค้าหรือบริการของ ซึ่งในรายละเอียดที่ต้องการที่จะสื่อสารออกมานั้นสามารถก็ต้องแยกออกมาอีกว่า เป้าหมายของอีเว้นท์นี้คืออะไร เช่น Sales, Media coverage, Consumer awareness
2. วางแผนการ จัดงานอีเว้นท์
การวางแผนนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในเริ่มต้น การจัดอีเว้นท์ ดังนั้นการให้เวลาในการวางแผนจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงานอีเว้นท์ที่ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มจากนำเป้าหมายใน การจัดงานอีเว้นท์ ที่วางไว้มาดำเนินการต่อเพื่อแตกรายละเอียดงานเป็นส่วนเล็ก ๆ และแบ่งงานให้คนในทีมรับผิดชอบ
3. ตั้งงบประมาณในการจัดงาน
การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการเพื่อแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมตามรายละเอียดต่าง ๆ และปรับงบประมาณให้กับรายการที่เราให้ความสำคัญที่สุด เป็นหนึ่งในขึ้นตอนที่บริษัทต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ ทั้ง ค่าสถานที่ ค่าตกแต่งสถานที่ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าการแสดง ค่าระบบเสียง ค่าทีมงาน อย่างเช่น
4. เลือกสถานที่
การเลือกสถานที่จัดงาน เป็นอีกขั้นตอนที่ต้องวางแผนและต้องคิดให้รอบคอบ โดยสิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนการเลือกสถานที่เลยคือ กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เป็นคนกลุ่มไหน และกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเข้าร่วมงานมีจำนวนเท่าไหร่ สถานที่ของเราเหมาะกับผู้ที่จะเข้าร่วมงานหรือเปล่า อีกทั้งควรมองลึกไปในเรื่องของ สถานที่ที่เลือก สร้างมูลค่าให้งานหรือเปล่า ง่ายต่อการเดทางและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไหม
5. การเลือกวันเวลา
วันและเวลาไหนที่จะเหมาะสมกับผู้ร่วมงานของคุณที่สุด เพราะคุณต้องแน่ใจว่าแขกที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะสามารถมาเข้าร่วมงานได้ วันหรือสัปดาห์ไหนที่จะเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ แม้ว่าวันเวลาจัดกิจกรรมทางการตลาดจะถูกกำหนดขึ้นล่วงหน้าก็ตาม แต่ก็ต้องมั่นใจในการจัดงานดังกล่าวก่อนที่คุณจะยืนยันวันเวลาจัดงาน
” ยกตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมทางการตลาดกับสินค้าลดราคา วันเวลาที่ควรจัดงาน ควรเป็นวันเวลาที่อยู่ที่ช่วงสิ้นเดือน หรือก่อนสิ้นเดือนสัก 1 สัปดาห์ เพราะกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าเรา เป็นเหล่านักศึกษา หรือหนุ่มสาวมนุษย์เงินเอนซะส่วนใหญ่ และที่ต้องจัดงานช่วงเวลานี้ก็เพื่อ ให้พวกเขาได้เตรียมตัว ก่อนวันจัดงาน “
6. การประชาสัมพันธ์
จัดอีเว้นท์ แต่ไม่ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ก็เหมือนสิ่งที่ววางแผนมาทั้งหมดศูนยืเปล่า เพราะฉะนั้นขั้นตอนนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์งานอีเว้นท์ การที่จะวางแผนเพื่อประชาสัมพันธ์นั้น ขึ้นอยู่กับสินค้าและรูปแบบการจัดของเราด้วยว่าเราวางแผนไว้แบบไหน
ซึ่งครั้งนี้จะยกตัวอย่างของการทำประชาสัมพันธ์กับสินค้าแบรนด์ลดราคา ที่จัดงานกลางห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ สักหนึ่งที่ การทำการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมทางการตลาดควร ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าสัก 1 – 2 เดือน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เตรียมตัวก่อนมาซื้อสินค้า และเพื่อไม่ให้พวกเขาใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งอื่นจนหมดก่อนวันงาน ซึ่งรูปแบบการประชาสัมพันธ์ อย่างเช่น การทำป้ายบิวบอร์ด การทำโปสเตอร์ ทำโบรชัวร์ การประชาสัมพันธ์ผ่าสถานนีวิทยุ และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Fan peg
7. การดำเนินการภายในวันงานอีเว้นท์
ก่อนเริ่มงานอีเว้นท์จะมีการจัดวางอุปกรณ์ในส่วนต่าง ๆ ก่อนวันจัดงาน 1 วันหรือภายในวันงาน เมื่อเริ่มงานอีเว้นท์ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายให้รับผิดชอบหน้าที่ในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ แต่จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 1 ทีมในการประสานงานและแก้ไขสถานะการณ์ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น โดยอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม เพื่อสามารถดำเนินงาน ไปได้อย่างลุล่วงไปด้วยดี
หลังจากเสร็จสิ้นจบงานอีเว้นท์ก็ถึงเวลาในการรื้อถอน /เก็บงาน ผู้ที่รับผิดชอบงานในส่วนต่าง ๆ ประสานงานให้ผู้ให้บริการรื้นถอดเสร็จสิ้นและดำเนินการคืนพื้นที่ให้กับสถานที่ในสภาพเดิม
8. การประเมินผลงานหลังจากการจัดงานอีเว้นท์
ผู้จัดงานส่วนใหญ่มักจะละเลยการให้ความสำคัญในส่วนสุดท้ายของการจัดงานอีเว้นท์ ซึ่งนั่นก็คือการประเมินผลงานของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วน ซึ่งส่วนสำคัญควรให้ข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป
สำหรับใครที่กำลังวางแผน หรือกำลังหาข้อมูลสำหรับการจัดกิจกรรมทางการตลาดให้ปัง เราขอแนะนำ 8 เทคนิคจัดอีเว้นท์ให้ปังในข้างต้น รับรองว่าการจัดกิจกรรมทางการของคุณ จะมีประสิทธิภาพขึ้นอย่างแน่นอน!!
ทิ้งท้าย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 8 หัวข้อที่เราได้กล่าวมานี้ เราเชื่อว่าทุกคนสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปศึกษา เเละปรับใช้ในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดีเเน่นอน รับของได้เลยว่าถ้าคุณนำไปใช้งานที่จัดจะต้องมีคุณภาพ เพราะทุกขั้นตอนนั้นได้พิจารณามาเป็นอย่างดีเเล้ว เชื่อเถอะว่าคุณสามารถที่จะพัฒนางานของคุณให้ออกมาได้เป็นอย่างดี เเละราบรื่นทุกขั้นตอนในการทำงานเเน่นอน
อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก
https://baankwamru.com/8-techniques/